|
ผู้นำเต้นแอโรบิกชั้นนำ
โดย...ผศ.ดร.สืบสาย บุญวีรบุตร |
|
|
|
|
เต้นแอโรบิกปลอดภัย
ไม่บาดเจ็บ โดย...
รศ.สุกัญญา พานิชเจริญนาม |
|
|
|
เต้นแอโรบิก....ปลอดภัยไม่บาดเจ็บ
โดย..รศ.สุกัญญา พานิชเจริญนาม |
ข้อควรระวังเบื้องต้นในการเต้นแอโรบิก |
- ไม่ฝึกติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เพราะยังมีคนส่วนมากเข้าใจว่าฝึกหนักและนานจะได้รับผลดีกว่า
- ต้องเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง ไม่ควรฝึกด้วยท่าการเคลื่อนไหวซับซ้อนมากเกินไป
- ถ้ามีการใช้อุปกรณ์ เช่น ลูกน้ำหนัก หรืออุปกรณ์อื่นๆประกอบการเคลื่อนไหว จะต้องระมัดระวังให้มากขึ้น
- ก่อนการฝึกทุกครั้งจะต้องอบอุ่นร่างกาย (warm-up) จะต้องทำการยืดเหยียด (Stretching)ให้เพียงพอ
- ควรเพิ่มควาหนักของงานทีละน้อย
- ไม่ควรยกน้ำหนักที่หนักเกินไป ทำให้ควบคุมตัวเองไม่ได้ จะทำให้เกิดการบาดเจ็บ
- การสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะต้องสร้างให้มีความสมดุลย์เพราะถ้าหากกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงไม่สมดุลย์กัน
แล้วเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บ
- ขณะเต้นแอโรบิกจะต้องไม่กลั้นหายใจ เพราะการหายใจเข้าออกเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการจัดเตรียมออกซิเจน
ไว้ในกล้ามเนื้อ และการหมุนเวียนภายในปอด
- การเต้นแอโรบิกแบบมีแรงกระแทกสูงหรือแรงเกินไป เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ข้อเท้า เข่า และหลัง
- จะต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการออกกำลังกายให้ถูกต้อง ไม่หักโหมหรือหวังผลเร็วเกินไป
|
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้เต้นแอโรบิก |
- ควรเขียนข้อควรปฏิบัติในการออกกำลังกาย พฤติกรรมการมีสุขภาพดี และวิธีติดตามผลการออกกำลังกาย ว่าเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
- ควรเขียนจุดมุ่งหมายในการออกกำลังกายทั้งระยะสั้นและยาวพร้อมทั้งหาบัดดี้(เพื่อน)ที่มีจุดมุ่งหมายและมีระดับสมรรถภาพใกล้เคียงกัน ร่วมออกกำลังกาย หรือบุคคลในครอบครัวให้การสนับสนุนในการออกกำลังกาย
- เลือกกิจกรรมที่ชอบและสามารถช่วยให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายได้และเข้าร่วมทันที
- ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- หมั่นตรวจร่างกายตัวเองเมื่อต้องการเพิ่มความหนักโดยไม่เพิ่มความหนักเร็วเกิน แรงเกิน หรือนานเกิน
- อย่าให้ความรู้สึกที่ว่าตัวเองเคลื่อนไหวไม่ดีทำให้หมดกำลังใจที่จะออกกำลังโดยเปรียบเทียบความสามารถ
ในการเต้นแอโรบิกกับคนอื่น
- สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมสบายในขณะออกกำลัง ที่สำคัญคือ รองเท้าจะต้องเหมาะสมกับการออกกำลังกาย
- ควรออกกำลังหลังรับประทานอาหารประมาณ 2 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนอาหาร
- อดทน อย่าคาดหวังผลเร็วเกินไป
- ระวังอาการที่แสดงถึงการออกกำลังกายหนักเกิน เช่น การหายใจติดขัดเวียนศรีษะ การปวดเสียดและแน่นหน้าอก การเจ็บปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อขาดการควบคุม หรือการเบื่ออาหารอย่างรุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ควรหยุดออกกำลังกายและพบแพทย์ทันที
|
|
|
|
|