จิตวิทยาการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา |
เหตุผลทำไมคนจึงไม่ออกกำลังกาย |
- ไม่มีเวลา
- ไม่มีแรงหรือกำลังเหลือเพราะเหนื่อยมาจากการทำงาน
- ขาดแรงจูงใจ
- เป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น
- มีปัญหาการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ
- สถานที่ออกกำลังกายไกลและไม่สะดวกในการเดินทาง
- ไม่มีทักษะ
- กลัวได้รับการบาดเจ็บ
- ไม่มีคนดูแลลูกและครอบครัว
- คนใกล้ชิดไม่สนับสนุน
|
เหตุผลทำไมคนจึงออกกำลังกาย |
- เพื่อควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน
- ลดโอกาสเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ
- ลดและคลายความเครียด
- เพื่อความสนุกสนาน
- สร้างความเชื่อมั่นที่ดี มีความภาคภูมิใจให้กับตัวเอง
- เพื่อสังคมกับคนอื่น
|
ปัจจัยที่ทำให้คนติดการออกกำลังกาย |
- ปัจจัยส่วนบุคคล
- รับรู้ความสามารถของตัวเองว่าทำได้
- มีทัศนะคติที่ดี / แรงจูงใจในตัวเองสูง
- รับรู้ถึงประโยชน์ / มีประสบการณ์ที่ดี
- มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ / แพทย์สั่ง
- สิ่งแวดล้อม
- คุณภาพของโปรแกรม – สนุก กิจกรรมหลากหลาย ส่วนใหญ่ทำได้ กิจกรรมมีคุณภาพ
- บรรลุตามวัตถุประสงค์ ยืดหยุ่น
- ตารางโปรแกรมหลากหลายที่สามารถเข้าร่วมได้ / ไม่เกิน 60 นาที
- คุณภาพครูฝึก มีความรู้ มีความเป็นมืออาชีพ
- ได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง
- ครูฝึกและเพื่อนร่วมกลุ่ม
- เข้าร่วมทั้งกลุ่ม / ครอบครัว คู่ครอง ลูก เพื่อนสนิท สมาชิกในครอบครัว
|
วิธีสร้างและส่งเสริมให้คนติดการออกกำลังกาย |
- การจัดสิ่งแวดล้อม
- การกระตุ้น เตือน โดยมีแผ่นป้าย โปสเตอร์ สโลแกน โดยการใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด พูดกระตุ้นและให้กำลังใจ
- การทำสัญญา ที่จะออกกำลังกายโดยคำนึงถึงการมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเงื่อนไขอื่นๆที่สามารถทำได้และสอดคล้องกัน
- การสร้างตัวเลือก การจัดกิจกรรมที่มีตัวเลือก ทั้งต่างกิจกรรมหรือในกิจกรรมเดียวกัน คนฟิตกว่าใช้ท่านี้ และคนไม่ฟิตทำท่าที่มีความสอดคล้องหลากหลาย ที่แต่ละคนสามารถทำได้
- จัดระบบการให้แรงเสริม และให้รางวัลสำหรับสมาชิกทั้งการให้ผลย้อนกลับ การสร้างแรงกระตุ้นตัวเอง
- การกำหนดจุดมุ่งหมาย ที่สมาชิก เข้าร่วมการฝึกควรมีการประเมินเบื้องต้น แล้วกำหนดเป้าหมายเพื่อให้มุ่งมั่นที่จะฝึกและติดการออกกำลังกาย
- การลงมือปฏิบัติ หากมีข้อดีและเสีย และจัดการแก้ไข
- การสนับสนุนจากคนรอบข้าง จัดระบบอุปถัมภ์ การช่วยเหลือระหว่างเพื่อนสมาชิก เพื่อนร่วมอาชีพ
|
หลักการทางจิตวิทยาในการจัดกิจกรรม |
- ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย มีตัวเลือก ทำให้การฝึกและการออกกำลังกายน่าสนใจ
- ควรให้นักกีฬาทราบและเห็นผลการพัฒนาความสามารถทั้งทางสมรรถภาพและทักษะ
- มีการกำหนดเป้าหมายทั้งของส่วนรวมและของแต่ละคนรวมทั้งการให้รางวัลเมื่อบรรลุผล
- ควรเลือกการสื่อสารที่ดีระหว่างนักกีฬา ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม และโค้ช ผู้นำ หรือครูฝึก
- ควรสร้างการรับรู้และการเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ต่อการกีฬาและการแข่งขัน
- การจัดกิจกรรมที่เหมาะกับความต้องการ
- จัดกระบวนการเพื่อนคู่หู หรือกระบวนการสนับสนุนจากเพื่อนหรือคนใกล้ชิด
- มีการประเมินผลและแบบการประเมินผลได้ทั้งด้วยตัวเองและจากผู้นำ
|
|
|